บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤษภาคม, 2020

ทำไมใบต้นคริสต์มาสต์จึงเปลี่ยนเป็นสีแดงในฤดูหนาว

รูปภาพ
ทำไมใบต้นคริสต์มาสต์จึงเปลี่ยนเป็นสีแดงในฤดูหนาว             เมื่อเทศกาลคริสต์มาสมาถึงหลายคนคงจะนึกถึงต้นคริสต์มาสที่เป็นต้นสนสูงใหญ่ ที่ถูกประดับประดาไปด้วยไฟสี ดาว ตุ๊กตา และของน่ารักมากมาย หลายคนต้อนรับเทศกาลคริสต์มาสด้วยการตกแต่งอาคารบ้านเรือนด้วยสิ่งต่างๆ ที่มีสีซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของเทศกาลคริสต์มาส นั่นก็คือ สีเขียวและสีแดง  ภาพที่ 1 ต้นคริสต์มาส (Poinsettia) ที่มา: https://pixabay.com/, Suju           หนึ่งในต้นไม้ต้นเล็กๆที่นิยมนำมาเป็นไม้ประดับก็คือต้นคริสต์มาสนั่นเอง ด้วยความโดดเด่นของต้นไม้นี้ที่จะเปลี่ยนสีใบอ่อนหรือใบประดับ ที่อยู่บนสุดจากสีเขียวให้เป็นสีแดงเมื่อถึงฤดูหนาว และยังมีห้าแฉกอีกด้วย จึงมีชื่อเรียกว่า “Christmas star” หรือบางครั้งก็ถูกเรียกว่า Lobster Flower หรือ Flame Leaf Flower ก็ได้เหมือนกัน โดยที่ชื่อจริง ๆ ของเจ้าต้นไม้นี้ก็คือ “Poinsettia (พอยน์เซตเทีย)” นั่นเอง ต้นไม้นี้มีเข้ามาในประเทศไทยมานานพอที่จะมีชื่อเรียกแบบไทยๆ ว่า “ต้นสองฤดู” หรือ...

สุริยวิถีอยู่ที่ไหน

รูปภาพ
สุริยวิถีอยู่ที่ไหน ที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=TCRNuDMMG54          สุริยวิถี (Ecliptic) คืออะไร อยู่ที่ไหน มีประโยชน์กับเราหรือไม่ อย่างไร หากเรานึกย้อนไปถึงเรื่อง กลุ่มดาวจักรราศี เราคงจำได้ว่า กลุ่มดาวจักรราศีทั้ง 12 กลุ่มนั้นอยู่บนสุริยวิถี สุริยวิถีเป็นเส้นสมมุติบนทรงกลมฟ้าที่แสดงเส้นทางการเคลื่อนที่ปรากฏของดวงอาทิตย์ในรอบ 1 ปี เส้นนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร          จากที่เราได้ทราบมาแล้วว่า ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ที่อยู่กับที่ แต่โลกที่เราอาศัยอยู่ต่างหากที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ ขณะที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ ดวงอาทิตย์เปรียบเหมือนเป็นจุดศูนย์กลางที่มีรัศมีเท่ากับระยะระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ เมื่อโลกโคจรไปรอบดวงอาทิตย์ โลกจะกวาดพื้นที่ไปเรื่อยๆ เกิดเป็นระนาบ 1 ระนาบ คือ ระนาบวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ดังภาพ ภาพที่ 1 ระนาบวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ที่มา: https://www.scimath.org/article-earthscience/item/1336-ecliptic          ขณะที่เราอยู่บนโลกแล...

อันตรายจากกล่องโฟม

รูปภาพ
อันตรายจากกล่องโฟม  ที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=CWoAvQBqT-k          เดี๋ยวนี้การใช้ชีวิตประจำวันเป็นอะไรที่เร่งรีบ ต้องเร็วไว้ก่อนกล่องโฟมจึงเป็นสิ่งที่เราเห็นจนชินตา และหยิบจับใช้กันทุกวันจนเคยชิน ทั้งที่เราก็รับรู้ถึงอันตรายจากกล่องโฟมมาบ้าง แต่มันไม่ได้ทำให้เรากลัว อาจจะเพราะความเคยชิน จากการสัมผัสทุกวันทำให้เรามองข้ามอันตรายร้ายแรงเหล่านั้นไป          อันตรายใกล้ตัว ที่เรารับรู้กันอยู่แล้วแต่ผู้คนส่วนใหญ่ยังมองข้ามกันอยู่ คือการใช้กล่องโฟมใส่อาหารที่ร้อนจัด วันนี้ กรมอนามมัย ย้ำว่าการรับประทานอาหารจากกล่องโฟม ติดต่อกันนาน 10 ปี เสี่ยงมะเร็งสูงกว่าคนปกติ 6 เท่า ขณะที่หลายประเทศไม่ใช่กล่องโฟมบรรจุอาหารเด็ดขาด ที่มา: http://www.mnre.go.th/reo13/th/news/detail/9448          โดย นพ.วีรฉัตร กิตติรัตนไพบูลย์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านบรรจุภัณฑ์ บริษัทบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม ได้ให้ความรู้ว่า กล่องโฟมที่ใช้ตามท้องตลาดทั่วไป (Styrofoam) เป...

แมลงปอ...นักล่าจากเวหาเพชฌฆาตรปีกสีรุ้ง

รูปภาพ
แมลงปอ...นักล่าจากเวหาเพชฌฆาตรปีกสีรุ้ง  ภาพโดย Mylene2401 จาก Pixabay          แมลงปอเป็นสัตว์โลกดึกดำบรรพ์ชนิดหนึ่ง ฟอสซิลของแมลงปอที่ขุดพบ เป็นแมลงปอที่เคยอาศัยอยู่ในยุค คาร์โบนิเฟอร์รัส (Carboniferous) หรือประมาณ 300 ล้านปีมาแล้ว ในยุคนั้นแมลงปอมีขนาดใหญ่ปีกทั้งสองข้างกางออกยาวประมาณ 29 นิ้ว หลังจากนั้นแมลงปอก็ได้วิวัฒนาการมาเรื่อยๆ จนกระทั่งปัจจุบัน ชนิดที่ใหญ่ที่สุดปีกทั้งสองข้างกางแล้วยาวประมาณ 7.5 นิ้ว  ที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=HE067hfcetg ส่วนอก ( Thorax )ของแมลงปอมีขนาดใหญ่ ในขณะที่ส่วนท้อง ( Abdomen ) มีขนาดเล็ก เรียวยาว ปีกใสบางเบา ส่วนอกเป็นกล้ามเนื้อที่แข็งแรงมากมีประโยชน์สำหรับการบิน ลักษณะการบินของแมลงปอเปรียบคล้ายกับเครื่องบินขับไล่รวมกับเฮลิคอปเตอร์ คือบินได้ทั้งแนวดิ่ง คือบินยกตัวขึ้น หรือ บินหย่อนตัวลง และบินพุ่งไปข้างหน้าอย่างเร็ว คือ สามารถบินได้เร็วถึง 50- 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เมื่อเทียบกับความยาวของลำตัวเพียงไม่กี่เซ็นติเมตร นับว่าบินได้เร็วมาก และเรีย...

ฟีโรโมนนำทางของมดตัดใบไม้

รูปภาพ
ฟีโรโมนนำทางของมดตัดใบไม้           ดูเหมือนว่า มดหรือแมลงจะมีความคล้ายคลึงกับมนุษย์ในเรื่องของความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนของกลุ่มจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในร่างกาย เมื่อการศึกษาใหม่เผยให้เห็นว่า สารเคมีนำทางที่มดใช้ในการสื่อสารระหว่างกันนั้นอาจไม่ได้ถูกสังเคราะห์ขึ้นจากมดทั้งหมด แต่มีส่วนเกี่ยวข้องกับแบคทีเรียที่อยู่ภายในลำไส้ของพวกมัน ภาพที่ 1 การสื่อสารซึ่งกันและกันระหว่างมด ที่มา: https://www.flickr.com, Andreas Kay          เคมีนำทางหรือที่เรียกว่า ฟีโรโมน (Pheromone) นั้นเป็นสารประกอบเคมีที่สำคัญที่ถูกใช้เป็นสื่อกลางในการติดต่อประสานงานระหว่างประชากรของมดตัวเพื่อประโยชน์ในการทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น การรวบรวมทรัพยากรในด้านอาหารหรือพฤติกรรมเตือนภัย (Alarm behaviors) อย่างไรก็ดีการค้นพบที่น่าสนใจนี้เกิดขึ้นในมดตัดใบไม้ (Leafcutter ant) สายพันธุ์ Atta sexdens rubropilosa ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่พบได้ทั่วไปในสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่รัฐเท็กซัสตลอดจนทางตอนเหนือของประเทศอาร์เจนตินาในแถบอเมริกาใต้   ...

รู้หรือไม่ว่าทำไมดวงจันทร์ที่เราเห็นนั้นมีผิวขรุขระ

รูปภาพ
รู้หรือไม่ว่าทำไมดวงจันทร์ที่เราเห็นนั้นมีผิวขรุขระ          เชื่อว่าเราต่างก็เคยมองบนท้องฟ้ายามค่ำคืนกันทั้งนั้น แล้วมองเห็นดวงจันทร์ที่สว่างไสวนั้นไหม หลายคนคงอาจจะเคลิบเคลิ้มไปกับความสวยงาม และคงคิดว่าดวงจันทร์นั้นคงกลมสวยงามเรียบเนียนอย่างที่เรามองเห็นเมื่อมองจากโลก แต่รู้หรือไม่ว่าดวงจันทร์ที่ส่องสว่างบนท้องฟ้ายามค่ำคืนนั้นที่เรามองเห็นผิวของดวงจันทร์เรียบเนียนนั้น แท้จริงแล้วไม่ได้เป็นอย่างที่ตาเรามองเห็น แต่กลับเต็มไปด้วยหลุมขรุขระมากมาย ซึ่งบทความนี้จะพาผู้อ่านทุกท่านไปทำความรู้จักดวงจันทร์พร้อมทั้งหาข้อเท็จจริงของพื้นผิวของดวงจันทร์กัน ที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=YMh0l6NSKKc ทำความรู้จักดวงจันทร์กันก่อน                    ในทางดาราศาสตร์ นิยามว่าดวงจันทร์เป็นดาวบริวารของดาวเคราะห์ และเป็นดาราศาสตร์วัตถุที่โคจรรอบโลก ซึ่งเป็นดาวบริวารดวงเดียวของโลกก็ว่าได้ อยู่ห่างจากโลกประมาณ 384,403 กิโลเมตร ในอดีตชาวโรมันเรียกดวง...